วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

การบวกจำนวนเต็ม

การบวกจำนวนเต็ม
 
                        การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวกและการบวกจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ   มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
                 1. การบวกจำนวนเต็มบวก การหาผลบวกของจำนวนเต็มบวก ให้นำค่าสัมบูรณ์มาบวกกันแล้วตอบเป็นจำนวนบวก
 2. การบวกจำนวนเต็มลบ การหาผลบวกของจำนวนเต็มลบ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มลบมาบวกกัน แล้วตอบเป็นจำนวนเต็ม
  3. การบวกระหว่างจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ การหาผลบวกระหว่างจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ ให้นำค่าสัมบูรณ์มาลบกัน แล้วตอบเป็นจำนวนเต็มบวกหรือลบ ตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า เช่น

1. 2 + ( - 10)      =      - 8
2. (- 3 ) + 12      =        9
            3. (- 9) + 6 + ( - 5 )      =      (-3) + (- 5)
                                   =     - 8
 4. 14 + (- 8) + (- 6)     =      6 + (- 6)
                                                 =        0
ตัวอย่างที่ 1     จงหาผลบวก 9 +5
 วิธีทำ         9 + 5   =     14 
                     ตอบ         14
ตัวอย่างที่ 2      จงหาผลบวก (-9) + (-5)
 วิธีทำ          (-9) + (-5    =    -14
                    ตอบ        -14 

 การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มลบและการบวกจำนวนเต็มลบด้วยเต็มบวก  
           การบวกระหว่างจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์ไม่เท่ากัน ให้นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า แล้วตอนเป็นจำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า  

หลักเกณฑ์การบวกจำนวนเต็ม
         1. การบวกจำนวนเต็มบวก การหาผลบวกของจำนวนเต็มบวก ให้นำค่าสัมบูรณ์มาบวกกันแล้วตอบเป็นจำนวนบวก
         2. การบวกจำนวนเต็มลบ การหาผลบวกของจำนวนเต็มลบ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มลบมาบวกกัน แล้วตอบเป็นจำนวนเต็มลบ
         3. การบวกระหว่างจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์ไม่เท่ากันให้นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า แล้วตอบเป็นจำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า
         4. การบวกระหว่างจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากันผลบวกเท่ากับศูนย์

         สำหรับการบวกจำนวนเต็มใดๆ ด้วยศูนย์ หรือการบวกด้วยศูนย์ด้วยจำนนเต็มใดๆ จะได้ผลบวกเท่ากับจำนวนเต็มนั้นเสมอ
นั่นคือ a + 0 = 0 + a = a เมื่อ แทนจำนวนเต็มใดๆ

ตัวอย่างที่ 1    จงหาผลบวก 32 + (-17)
วิธีทำ             32 + (-17   =     15
                  ตอบ                15

 ตัวอย่างที่ 2    จงหาผลบวก 17 + (32)
 วิธีทำ            17 + (32     =     -15
               ตอบ              -15

 ตัวอย่างที่ 3     จงหาผลบวก 25 + (-25)
  วิธีทำ             25 + (-25   =    0
                      ตอบ           0





วันที่ 18 กันยายน 2556



 

ทศนิยม

  ทศนิยม

     
ทศนิยมนั้นจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราตลอด  ไม่ว่าจะเป็นการบอกค่าของเงินที่เราใช้   การบอกเวลา   บอกหน่วยความยาว ฯลฯ

     -    การเขียนทศนิยมในรูปกระจายเป็นการเขียนในรูปการบวกค่าของตัวเลขในหลักต่าง ๆ  ของทศนิยมนั้น
      -  ทศนิยม หมายถึง การเขียนตัวเลขแสดงจำนวนที่มีค่าน้อยกว่า 1 หรือการเขียนตัวเลขประเภทเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 10,100,1000 แต่เปลี่ยนรูปจากเศษส่วนมาเป็นรูปทศนิยม โดยใช้เครื่องหมาย . (จุด) แทน
      - ทศนิยมและเศษส่วน ทศนิยมหนึ่งตำแหน่งเทียบได้กับเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็นสิบ และทศนิยมสองตำแหน่งเทียบได้กับเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็นร้อย  


  ทศนิยม      หมายถึง ค่าของจำนวนเต็มที่แบ่งออกเป็นสิบส่วน ร้อยส่วน พันส่วน .... เท่า ๆ  กัน ซึ่งเขียนได้ในรูปของเศษส่วน

เช่น     เป็นต้น 


ค่าของตัวเลขตามค่าประจำหลัก
ล้าน
แสน
หมื่น
พัน
ร้อย
สิบ
หน่วย
จุด
หลักส่วนสิบ
หลักส่วนพัน
1,000,000
100,000
10,000
1,000
100
10
1
หรือ 0.1
หรือ0.001
หลักตัวเลขหน้าจุด  หลักตัวเลขหลังจุด  


   1. การบวกทศนิยม
          การบวกทศนิยมใช้วิธีตั้งหลักและจุดทศนิยมให้ตรงกันแล้วบวกตัวเลขที่อยู่ในหลักเดียวกัน ถ้าผลบวกได้เกิน 9 ให้ทศไปยังหลักข้างหน้าเหมือนการบวกจำนวนนับ
ตัวอย่าง42.36 + 23.86 = ?
วิธีทำ
คุณสมบัติสลับที่ของการบวกเช่น5.3 + 4.6 = 4.6 + 5.3 = 9.9
คุณสมบัติการเปลี่ยนกลุ่มของการบวกเช่น
( 0.14+0.83)+0.13 = 0.14 + (0.83 + 0.13) = 1.10


2. การลบทศนิยม
          การลบทศนิยมใช้วิธีตั้งหลักและจุดทศนิยมให้ตรงกันแล้วลบจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกันถ้าตัวตั้งน้อยกว่าตัวลบให้กระจายหลักข้างหน้ามาเหมือนกับจำนวนนับ
ตัวอย่าง4.35 - 2.19 = ?
วิธีทำ

3. โจทย์ปัญหาการบวกและลบทศนิยม
          ขั้นตอนการทำโจทย์ปัญหาการบวกและลบทศนิยม มีดังนี้
          1.) ถ้ากำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกจำนวนที่เพิ่มขึ้น ใช้วิธีบวก
          2.) ถ้ากำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกจำนวนที่ลดลง ใช้วิธีลบ

ตัวอย่าง จ่ายค่าหนังสือเป็นเงิน206.5 บาท จ่ายค่าสมุดเป็นเงิน 150 บาท ให้ธนบัตรใบละ 500 บาท จะได้รับเงินทอนกี่บาท
ประโยคสัญลักษณ์500 - (206.5 + 150 ) = ?
วิธีทำ
จ่ายค่าหนังสือเป็นเงิน206.50 บาท
จ่ายค่าสมุดเป็นเงิน150.00 บาท
จ่ายเงินค่าสมุดและดินสอเป็นเงิน356.50 บาท
ให้ธนบัตรใบละ500.00 บาท
จ่ายค่าหนังสือและสมุด356.50 บาท
จะได้รับเงินทอน143.50 บาท


4. การคูณทศนิยม
            1. การหาผลคูณโดยใช้การบวก เช่น2 x 3.5 = 3.5 + 3.5 = 7.0
          2. การหาผลคูณโดยการเปลี่ยนทศนิยมให้เป็นเศษส่วนเช่น
          3. การหาผลคูณโดยวิธีลัดให้คูณเหมือนการคูณจำนวนนับด้วยจำนวนนับ และผลคูณจะมีตำแหน่งทศนิยมเท่ากับทศนิยมที่โจทย์กำหนดให้ เช่น3x0.7 = 2.1 หรือ4 x2.17 = 8.68 เป็นต้น
คุณสมบัติการสลับที่ของการคูณเช่น5x0.8 = 0.8x5 =4.0


5. โจทย์การปัญหาการคูณทศนิยมมีหลักดังนี้
          ขั้นตอนการทำโจทย์การปัญหาการคูณทศนิยม
          1.) อ่านโจทย์ให้เข้าใจว่าโจทย์กำหนดสิ่งใดให้ และต้องการทราบอะไร
          2.) พิจารณาวิธีหาคำตอบโดยถ้าโจทย์กำหนดจำนวนสิ่งของให้และบอกว่าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเท่าจะใช้วิธีการคูณ

ตัวอย่างซื้อผ้าเช็ดหน้า 1/2 โหล ราคาผืนละ 5.25 บาท ให้ธนบัตรใบละ100 บาท จะได้รับเงินทอนกี่บาท
ประโยคสัญลักษณ์100 - (5.25x6) = ?
วิธีทำซื้อผ้าเช็ดหน้าราคาผืนละ5.25 บาท
ผ้าเช็ดหน้า 1/2 โหลเท่ากับ6 ผืน
จ่ายเงินค่าผ้าเช็ดหน้า6x5.25 = 31.50 บาท
ให้ธนบัตร100 บาท
จะได้รับเงินทอน100 - 31.50 = 63.50 บาท



ทดสอบความเข้าใจ
ข้อ 1. จงหาค่าของ(7.58 - 3.61) + 2.95 = ?
          ก.5.92 ข.6.82 ค.6.92 ง.14.14

ข้อ 2. แดงมีเงิน 24.50 บาท ซื้อหนังสือ 1 เล่มราคา15 บาทแดงมีเงินเหลือกี่บาท
          ก.9 ข.9.50 ค.10 ง.10.50

ข้อ 3. เชือกยาวเส้นละ2.35 เมตรถ้านำมาวางต่อกัน10 เส้น จะได้เชือกยาวกี่เมตร
          ก.12.35 ข.23.5 ค.235 ง.2,350


เฉลยข้อ 1. ตอบ คข้อ 2. ตอบขข้อ 3. ตอบ ข








วันที่ 18 กันยายน 2556

การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม

             การหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม

      ความยาวรอบรูปสี่เหลี่ยม
                ความยาวรอบรูป คือ ผลบวกของความยาวด้านทุกด้านของรูปเหลี่ยม

      วิธีหาความยาวรอบรูปสี่เหลี่ยม
               รูปสี่เหลี่ยมโดยทั่วไปหาความยาวเส้นรอบรูปได้โดยวัดความยาวของด้าน
     ทุกด้านแล้วนำมาบวกกัน
               รูปสี่เหลี่ยมบางชนิดหาความยาวโดยใช้สูตรความยาวรอบรูปได้โดยวัดความ
     ยาวบางด้านแล้วนำมาคำนวนโดยใช้สูตรดังนี้
              สี่เหลี่ยมผืนผ้า, สี่เหลี่ยมด้านขนาน = 2 × ( กว้าง + ยาว )
              สี่เหลี่ยมจัตุรัส, สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = 4 × ด้าน
                               

                              สูตรหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม

    สี่เหลี่ยมจัตุรัส
    สูตร การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส = ด้าน x ด้าน

     
ตัวอย่าง หาพื้นที่ของสี่เหลี่ยม ABCD ซึ่งยาว 3 เซนติเมตร
     = ด้าน x ด้าน
     = 3 x 3
     = 9 ตารางเซนติเมตร


     สี่เหลี่ยมผืนผ้า
     สูตร การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = กว้าง x ยาว

  
   ตัวอย่าง หาพื้นที่สี่เหลี่ยม PQRS ซึ่งยาว 5 เซนติเมตร กว้าง 3 เซนติเมตร
     = กว้าง x ยาว 
     = 3 x 5 
     = 15 ตารางเซนติเมตร


     สี่เหลี่ยมด้านขนาน
     สูตร การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ฐาน x สูง หรือ
     = 1/2 x ความยาวเส้นทแยงมุม x ผลบวกเส้นกิ่ง

 ตัวอย่าง หาพื้นที่สี่เหลี่ยมด้านขนานซึ่งยาว 6 เซนติเมตร สูง 4 เซนติเมตร
     = ฐาน x สูง 
     = 6 x 4 
     = 24 ตารางเซนติเมตร
    หรือ หาพื้นที่สี่เหลี่ยมด้านขนานมีเส้นทแยงมุมยาว 12 เซนติเมตรและความยาวเส้น
     กิ่งยาว 2 เซนติเมตรและ 2 เซนติเมตร 
     = 1/2x ความยาวเส้นทแยงมุม x ผลบวกเส้นกิ่ง
     = 1/2x 12 x ( 2+2 ) 
     = 24 ตารางเซนติเมตร


     สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
     สูตร การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ฐาน x สูง หรือ
     = 1/2x ผลคูณของเส้นทแยงมุม

   
  ตัวอย่าง หาพื้นที่สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนซึ่งยาวด้านละ 5 เซนติเมตร สูง 3 เซนติเมตร
     = ฐาน x สูง 
     = 5 x 3 
     = 15 ตารางเซนติเมตร
    หรือ หาพื้นที่สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนซึ่งมีเส้นทแยงมุมยาว 5 เซนติเมตรและ 6           เซนติเมตร 
     = 1/2x ผลคูณของเส้นทแยงมุม
     =1/2 x 5 x 6 
     = 15 ตารางเซนติเมตร


     สี่เหลี่ยมรูปว่าว
     สูตร การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว =1/2 x ผลคูณของเส้นทแยงมุม



 
    ตัวอย่าง หาพื้นที่สี่เหลี่ยมรูปว่าว ซึ่งมีเส้นทแยงมุมยาว 4 และ 6 เซนติเมตร
     = 1/2x ผลคูณของเส้นทแยงมุม 
     =1/2 x 4 x 6 
     = 12 ตารางเซนติเมตร


     สี่เหลี่ยมคางหมู
     สูตร การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู 
     = 1/2x สูง x ผลบวกของความยาวของด้านคู่ขนาน

   
  ตัวอย่าง หาพื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมูมีด้านคู่ขนานยาว 4 และ 5 เซนติเมตร สูง 4 เซนติเมตร
     =1/2 x สูง x ผลบวกของความยาวของด้านคู่ขนาน 
     = 1/2x 4 x (4 + 5) 
     = 18 ตารางเซนติเมตร


     สี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า
     สูตร การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า 
     = 1/2x ความยาวของเส้นทแยงมุม x ผลบวกความยาวเส้นกิ่ง

     
  ตัวอย่าง หาพื้นที่สี่เหลี่ยมด้านไม่เท่าซึ่งมีเส้นทแยงมุมยาว 12 เซนติเมตร เส้นกิ่ง
      ยาว 3 เซนติเมตรและ 4 เซนติเมตร 
      = 1/2x ความยาวของเส้นทแยงมุม x ผลบวกความยาวเส้นกิ่ง
      = 1/2x 12 x ( 3+4 ) 
      = 42 ตารางเซนติเมตร






วีนที่ 18 กันยายน 2556

รูปวงกลม

         
           วงกลม
 คือ รูปร่างทาง
เรขาคณิตรูปแบบหนึ่ง เป็นรูปปิด ไม่มีมุม สามารถวาดได้โดยกำหนดจุดศูนย์กลางขึ้นมา 1 จุด จากนั้นจึงลากเส้นให้มีระยะห่างจากจุดนี้เท่ากันโดยตลอด วนรอบจุดศูนย์กลางจนกลับมาถึงจุดเริ่มต้น โดยระยะห่างจากจุดศูนย์กลางนี้มีชื่อเรียกว่า รัศมี
วงกลม
วงกลม
 
             สูตรการหาความยาวเส้นรอบวงกลมคือ เส้นรอบวง = 2pi  imes r
           สูตรการหาพื้นที่วงกลมคือ พื้นที่วงกลม = pi  imes r^2
           ค่าของ pi คือ 3.1415... ซึ่งเป็นผลมาจาก เส้นรอบวง หารด้วยเส้นผ่าศูนย์กลาง (ดูเพิ่มเติมได้ที่ พาย)

ผลการวิเคราะห์

 

พื้นที่จัตุรัสที่แรเงา
พื้นที่จัตุรัสที่แรเงา
 
           ใน ระบบโคออร์ดิเนต x-y วงกลมที่มีจุดศูนย์กลาง (a, b) และรัศมี r คือเซ็ตของทุกจุด (x, y) ที่

                     
left( x - a 
ight)^2 + left( y - b 
ight)^2=r^2


           หากวงกลมมีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด (0, 0) แล้ว สูตรนี้สามารถย่อได้ ดังนี้
x2 + y2 = r2
           วงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด ที่มีรัศมี 1 หน่วย เรียกว่า วงกลมหนึ่งหน่วย (unit circle)
           เมื่อแสดงในรูปสมการอิงตัวแปรเสริม (x, y) สามารถเขียนได้โดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ไซน์ และโคไซน์ ดังนี้
x = a + r cos(t)
y = b + r sin(t),



การหาความยาวรอบรูปวงกลม

  ความยาวรอบรูปวงกลม
 
 
 
  
    การหาความยาวรอบรูป  ( เส้นรอบวง ) ของวงกลม

                    จากค่า p   ≈   22/7   ≈   3.14

                              p  =   เส้นรอบรูปวงกลม/เส้นผ่านศูนย์กลาง


      เส้นรอบรูปวงกลม       =   p  ×  เส้นผ่านศูนย์กลาง

                                   =   p  ×  2  ×  รัศมี
                     เมื่อรัศมีคือ  r

       เพราะฉะนั้น  เส้นรอบรูปของวงกลม =   2pr



             
ตัวอย่าง  วงกลมวงหนึ่ง มีรัศมียาว 7 เซนติเมตร จะมีความยาวของเส้นรอบวงเท่าไร
            

               รัศมีคือ  r  =  7
 

                              เส้นรอบรูปของวงกลม  =  2pr
                              เส้นรอบรูปของวงกลม  =  2 x 22/7 x 7
                              เส้นรอบรูปของวงกลม  =  44  เซนติเมตร
                  
  ตอบ     ๔๔   เซนติเมตร 








ที่มา  https://sites.google.com/site/suwatchaisites/reuxng-tawprakxb/kar-hakhwam-yaw-rx
         http://blog.eduzones.com/dena/3815


วันที่ 18 กันยายน 2556

การบวกและการลบเศษส่วน

การบวกและการลบเศษส่วน ไม่เหมือนการบวกลบในตัวเลขจำนวนเต็ม สำหรับเลขจำนวนเต็ม สามารถบวกลบกันได้เลย แต่การบวกและการลบแบบเศษส่วน จะต้องทำให้ส่วนเท่ากันเสียก่อน จึงจะสามารถบวกลบกันได้ มาดูวิธีการบวกลบเศษส่วนที่ถูกต้องกันเลยครับ
การบวกลบเศษส่วน ของจำนวน 2 จำนวนที่มีส่วนเท่ากัน ให้นำเศษมาบวกกัน ตัวเลขที่เป็นส่วน คงไว้เท่าเดิม (เศษ หมายถึงตัวเลขข้างบน ส่วน หมายถึงตัวเลขข้างล่าง ) ดังนั้น เอาเฉพาะตัวเลขข้างบนบวกลบกัน ตัวเลขข้างล่าง คงไว้เท่าเดิม เช่น
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน ที่มีส่วนไม่เท่ากัน หรือ ตัวเลขที่อยู่ข้างล่างไม่เท่ากัน ต้องทำให้ส่วนเท่ากันเสียก่อน จึงจะสามารถบวกลบกันได้ วิธีทำให้ส่วนเท่ากัน เพื่อที่จะทำให้สามารถบวกลบกันได้ ทำอย่างไร ไปดูกันเลย
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน
ลองเอาตัวอย่างการบวกลบเศษส่วน ต่อไปนี้ไปลองทำดู นะครับ ว่าน้องๆ จะเข้าใจ และทำได้ไหม
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน
เฉลยคำตอบ ตัวอย่างข้อสอบการบวกลบเศษส่วน
ข้อ 1 .
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน
ข้อ 2.
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน
ข้อ 3.
การบวกลบเศษส่วน




การบวกลบเศษส่วน
หวังว่าน้องๆ คงจะเข้าใจ และได้ประโยชน์ การวิธีการที่พี่ได้สอนไปนะคะ ยังไง ก็อย่าลืมเอาไปฝึกฝนดู ถ้าจะให้ดีที่สุด จะต้องตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังเวลาที่ครูสอน แล้วกลับมาทบทวนคะ
วันที่ 18 กัยยายน 2556 

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

เวกเตอร์
(Vectors)

ปริมาณในทางฟิสิกส์ มี 2 ปริมาณ คือ
1. ปริมาณสเกลาร์ (Scalar) เป็นปริมาณที่บอกขนาดเพียงอย่างเดียว เช่น มวล , อัตราเร็ว , พลังงาน ฯลฯ
2. ปริมาณเวกเตอร์ (Vector) เป็นปริมาณที่บอกทั้งขนาดและทิศทาง เช่น ความเร็ว , ความเร่ง , การกระจัด , แรง ฯลฯ
1. การรวมเวกเตอร์
การรวมเวกเตอร์ หมายถึง การบวกหรือลบกันของเวกเตอร์ตั้งแต่ 2 เวกเตอร์ ขึ้นไป ผลลัพธ์ที่ได้เป็นปริมาณเวกเตอร์ เรียกว่า เวกเตอร์ลัพธ์ (Resultant Vector) ซึ่งพิจารณาได้ ดังนี้
1.1 การบวกเวกเตอร์โดยวิธีการเขียนรูป ทำได้โดยเขียนเวกเตอร์ที่เป็นตัวตั้ง จากนั้นเอาหางของเวกเตอร์ที่เป็นผลบวกหรือผลต่าง มาต่อกับหัวของเวกเตอร์ตัวตั้ง โดยเขียนให้ถูกต้องทั้งขนาดและทิศทาง เวกเตอร์ลัพธ์หาได้โดยการวัดระยะทาง จากหางเวกเตอร์แรกไปยังหัวเวกเตอร์สุดท้าย

จากรูป เวกเตอร ์  = 
1.2 การบวกเวกเตอร์โดยใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์
ให้ เวกเตอร์ ทำมุมกับ เป็นมุม q คำนวณหาเวกเตอร์ลัพธ์ได้ ดังนี้
ขนาดของเวกเตอร์ลัพธ์คำนวณได้จากกฎของโคไซน์

ทิศทางของเวกเตอร์ลัพธ์หาได้จาก
= ...........................................................(2)
หรือหาได้จากกฎของไซน์ ดังนี้
= =  .......................................................(3)
ข้อสังเกต จากสมการที่ (1) พบว่า
  1. เมื่อ q = (คือ และ อยู่ในทิศทางเดียวกัน) จะได้ขนาดของ โดยทิศทางของ มีทิศเดียวกับ และ 
  2. เมื่อ q = 
    2.1 ถ้า จะได้ และ มีทิศเดียวกับ  
    2.2 ถ้า จะได้ และ มีทิศเดียวกับ 
3. เมื่อ q = จะได้
ขนาด R = และ a = 
1.3 การลบเวกเตอร์
การลบเวกเตอร์ สามารถหาเวกเตอร์ลัพธ์ได้เช่นเดียวกับการบวกเวกเตอร์ แต่ให้กลับทิศทางของเวกเตอร์ตัวลบ ดังนี้
 .............................(4)
2. เวกเตอร์หนึ่งหน่วย (Unit Vector)
เวกเตอร์หนึ่งหน่วย หมายถึง เวกเตอร์ที่มีขนาดหนึ่งหน่วยในทิศทางใดๆ เช่น เวกเตอร์ สามารถเขียนได้ด้วยขนาดของ คูณกับเวกเตอร์หนึ่งหน่วย ซึ่งมีทิศทางเดียวกับ คือ
=
หรือ  = .....................................................(5)
โดย คือ เวกเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีขนาดหนึ่งหน่วยและทิศเดียวกันกับ 
ในระบบแกนมุมฉาก เวกเตอร์หนึ่งหน่วยบนแกน x , y และ z แทนด้วยสัญลักษณ์ และ ตามลำดับ จะได้
=  ;  =  ; = ..............................(6)
เมื่อ คือ เวกเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับ มีทิศทางตามแนวแกน x
คือ เวกเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับ มีทิศทางตามแนวแกน y
คือ เวกเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับ มีทิศทางตามแนวแกน z
3. เวกเตอร์องค์ประกอบ (Component Vector)
3.1 องค์ประกอบของเวกเตอร์ใน 2 มิติ
ถ้า อยู่ในระนาบ x , y โดย ทำมุม q กับแกน x
องค์ประกอบของ ตามแกน x คือ โดย = Acosq
องค์ประกอบของ ตามแกน y คือ โดย = Asinq
ดังนั้น เวกเตอร์ เขียนแยกเป็นองค์ประกอบได้ ดังนี้
 =  ............................(7)
หรือ
= Acosq + Asinq 
โดยที่ ขนาดของ 
 .................................(8)
3.2 องค์ประกอบของเวกเตอร์ใน 3 มิติ
กำหนดให้ อยู่บนระนาบ x , y ,z โดยเวกเตอร์ ทำมุมกับแกน x , y , z เป็นมุม q x , q y q z
ตามลำดับ เวกเตอร์ สามารถแยกเป็นองค์ประกอบตามแกน x , y , z ได้ ดังนี้
ขนาดของ  แทนด้วย Ax = Acosq x โดยที่ cosq x = 
ขนาดของ แทนด้วย Ay = Acosy โดยที่ cosq y = 
ขนาดของ แทนด้วย Az = Acosq z โดยที่ cosq z = 
ดังนั้น  =
=
ขนาด  คือ
A =  .......................................(9)
ทิศทางของเวกเตอร์ คือ มุมที่ ทำกับแกน x , y , z หาได้จาก
 :  : 
4. เวกเตอร์ตำแหน่ง (Position Vector)
เวกเตอร์ตำแหน่ง หมายถึง เวกเตอร์ที่บอกตำแหน่งของวัตถุเทียบกับจุดใดจุดหนึ่ง เรียกว่า จุดอ้างอิง
จากรูป เวกเตอร์ และ เป็นเวกเตอร์บอกตำแหน่งของจุด P และ Q เทียบกับจุด O ในระบบพิกัด โดย

จะได้

โดยขนาดของ คือ
.....................................(11)
ทิศทางของ หาได้จาก
; ;  ...... (12)
5. การคูณเวกเตอร์ มี 2 แบบ ดังนี้
5.1 ผลคูณสเกลาร์ (Scalar product หรือ dot product แทนด้วยเครื่องหมาย " . " )
กำหนดให้ ทำมุม กับ ผลคูณสเกลาร์ของเวกเตอร์ทั้งสองมีนิยาม ดังนี้
โดยที่ A และ B เป็นขนาดของเวกเตอร์ และ ตามลำดับ
 คือ มุมระหว่างเวกเตอร์ A กับ B
คุณสมบัติของผลคูณแบบสเกลาร์
ถ้า เป็นเวกเตอร์ใดๆ และ เป็น unit vector ในแนวแกน x , y ,z จะได้ว่า
คุณสมบัติของผลคูณแบบสเกลาร์
ถ้า เป็นเวกเตอร์ใดๆ และ เป็น unit vector ในแนวแกน x , y , z จะได้ว่า
1. 
2. 
3. 
4. 
5. 
6. 
7. 
โดยที่
ผลคูณเวกเตอร์ (Vector Product หรือ Cross Product แทนด้วยเครื่องหมาย “x” )
กำหนดให้ และ เป็นเวกเตอร์ที่ทำมุม q ต่อกัน และ เป็นเวกเตอร์ลัพธ์ โดย
ขนาดของ มีนิยามว่า 
ทิศทางของ หาได้โดยใช้กฎมือขวา โดยปลายนิ้วทั้งสี่แทนทิศทางของ และหมุนไปหา จะได้นิ้วหัวแม่มือแทนทิศทางของ 
คุณสมบัติของผลคูณแบบเวกเตอร์
1. 
2. 
3. 
4. 
5. 
หรือเขียนในรูปของดีเทอร์มิแนนท์ (Determinant) ได้ว่า
โดยที่


6. การหาอนุพันธ์ของเวกเตอร์
ถ้าเวกเตอร์ และ เป็นฟังก์ชันของตัวแปรอิสระ U ดังนั้น จะได้
1. 
2. 
3. 
4. 
5. 




  วันที่ 8 กันยายน 2556